บาลีไวยากรณ์ กิริยาอาขยาต นามกิตก์และกิริยากิตก์

      ปิดความเห็น บน บาลีไวยากรณ์ กิริยาอาขยาต นามกิตก์และกิริยากิตก์

กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์ 
บทที่ ๑ วิภัตติอาขยาต
ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่า อาขยาต 
ที่จะสำเร็จเป็นอาขยาตได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ 
        วิภัตติ         กาล 
        บท            วจนะ 
        บุรุษ           ธาตุ 
        วาจก         ปัจจัย


วิภัตติ
สำหรับลงหลังธาตุ จำแนกแจกแจงธาตุไว้เพื่อให้เป็นเครื่องหมายให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ.    
     วิภัติอาขยาตนี้ มี ๙๖ ตัว แบ่งเป็น ๘ หมวด แต่ละหมวด มี ๒ บท แต่ละบท มี ๓ บุรุษ แต่ละบุรุษมี ๒ วจนะ 
    ๑. วัตตมานา     
    ๒. ปัญจมี 
    ๓. สัตตมี     
    ๔. ปโรกขา 
    ๕. หิยัตตนี     
    ๖. อัชชตนี 
    ๗. ภวิสสันติ     
    ๘. กาลาติปัตติ
……ฯลฯ……..


ปัจจัย
๑.กิตปัจจัย มี ๓ ตัว คือ อนฺต, ตวนฺตุ, ตาว
๒.กิจจปัจจัย มี ๒ ตัว คือ อนีย, ตพฺพ
๓.กิตกิจจปัจจัย มี ๕ ตัว คือ มาน, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน 
บอกกาลต่างกัน ดังนี้
๑) ปัจจุบันแท้ ปัจจัยที่บอก คือ อนฺต, มาน
๒) ปัจจุบันใกล้อนาคต ปัจจัยที่บอก คือ อนฺต, มาน
๓) อดีตกาลล่วงแล้ว ปัจจัยที่บอก คือ ตวนฺตุ, ตาวี, ต, ตูน,  ตฺวา,ตฺวาน
๔) อดีตกาลล่วงแล้วเสร็จ ปัจจัยที่บอก คือ ตูน, ตฺวา, ตฺวาน
ส่วน อนีย, และ ตพฺพ ปัจจัย ไม่บอกกาลอะไร บอกเพียง ความเป็นไปของกิริยาอาการ แปลว่า ควร, พึง

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....