ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ม.2

      ปิดความเห็น บน ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ม.2

ใบความรู้

พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อการช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

            พระพุทธศาสนาช่วยให้มีความสำพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านได้เพราะ

            ๑. พระพุทธศาสนาสร้างลักษณะนิสัย  รักสงบ  เอื้อเฟื้อ  ใจกว้าง  อดทน  ให้อภัย  ปรับตัวง่าย  เป็นมิตรกับเพื่อนมนุษย์  ทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าอันดีต่อกันโดยเฉพาะบริเวณชายแดน   พระสงฆ์  ข้าราชการชายแดน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เยือนด้วยมิตรไมตรี

            ๒. การมีปูชนียวัตถุ  ปูชนียสถาน  ในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนนมัสการ  แลกเปลี่ยนพระพุทธรูปและคัมภีร์

            ๓. การปฏิบัติธรรม  มีการแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติ  เช่น  วิปัสสนากรรมฐาน  ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางพระพุทธศาสนา ระหว่าประเทศเพื่อนบ้านช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดีขึ้น

            ๔. พุทธศาสนิกชนไม่รังเกียจศาสนาอื่น   สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

            ๕ หลักธรรมพระพุทธศาสนาในการสร้างสัมพันธไมตรี             คือหลักสาราณียธรรมและหลักสังคหวัตถุ

                        ๑) หลักสาราณียธรรม   ประกอบด้วย  การมีเมตตาทางกาย   วาจา  ใจ  การแบ่งปันผลประโยชน์การปฏิบัติเสมอกันกับมิตรประเทศ  การมีความคิดเห็นตรงกับมิตรประเทศ

                        ๒) หลักสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตตา

            ๖. สร้างสัมพันธ์ไมตรีตามแนว  ทางของพระเจ้าอโศกมหาราช            ได้แก่

                        ๑) ให้สิทธิในการเผยแผ่ศาสนาอื่น ไม่ขัดขวาง  ดูหมิ่นศาสนาอื่น

                        ๒) ให้ความเอื้อเฟื้อศาสนาอื่นที่เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศของเรา

                        ๓) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างกัน  ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ  รู้จักเสียสละ  รู้จักประสานประโยชน์

                        ๔) พยายามละเว้นการสร้างข้อพิพาท   การทำสงคราม  โจมตีให้ร้ายกัน  ถ้าต้องการแข่งขันเอาชนะควรเอาชนะกันด้วยธรรม

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

            พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย  

            วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

            วัฒนธรรมไทย หมายถึง ลักษณะที่แสดงให้เห็นความเจริญในด้านต่าง ๆ ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย และถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

            พระพุทธศาสนาได้เข้าเกี่ยวข้องและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยในด้านต่าง ๆ ดังนี้

            ๑. วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ศิลปกรรมด้านต่าง ๆ เช่น

                        ๑) สถาปัตยกรรม ได้แก่ การสร้างโบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์

                        ๒) ประติมากรรม ได้แก่การปั้นพระพุทธรูปและสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

                        ๓) จิตรกรรม ได้แก่ การวาดภาพฝาผนังและการพิมพ์

            ๒. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ ได้แก่

                        ๑) ภาษาและวรรณคดี ภาษาที่ใช้ในทางพระพุทะศาสนา คือภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ได้เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก วรรณคดีไทยหลายเรื่องที่มาจากพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิพระร่วง มหาชาติคำหลวง พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น

                        ๒) มรรยาทไทย อันเป็นส่วนสืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เช่น การกราบ การไหว้ การมีสัมมาคารวะ การมีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น

                        ๓) การศึกษา ในสมัยอดีตสถานศึกษาแห่งแรกของเด็กไทยคือวัด เป็นสถานที่ที่ให้การอบรมสั่งสอนเด็กไทยให้อ่านออกเขียนได้

                        ๔) ขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เช่น การบวช การทอดกฐิน ประเพณีเข้าพรรษา ออกพรรษา และการลอยกระทง

                        ๕) การดำเนินชีวิต วัดเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในสังคม เช่น การจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ การประชุมเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม เป็นสถานสงเคราะห์พักพิงของคนเดินทาง เป็นต้น

พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

สรุปลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยมีดังนี้

            ๑.พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุขของชาติ ทรงเป็นพุทธศาสนิกชน ซึ่งได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

            ๒.พระราชพิธีหรือรัฐพิธีต่าง ๆ จะมีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ

            ๓.กิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนถึงตาย จะต้องเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เช่นการทำบุญวันเกิด การแต่งงาน งานศพ เป็นต้น

            ๔.ศาสนสถานและศาสนวัตถุที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยซึ่งเป็นที่รู้จักและมีซื่อเสียงไปทั่วโลก ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น เช่น พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

            ๕.การมีกิริยาอาการที่สงบเยือกเย็นของพระสงฆ์ การวางตัวอยู่ในพระธรรมวินัย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก เป็นภาพลักษณ์ที่ดีงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของพระสงฆ์ในประเทศไทย

ดาวน์โหลดสื่อการสอน

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....