Menu
สื่อการสอน.com
  • สื่อการสอน
    • แผนการสอน
    • วิธีการสอน
    • ใบความรู้
    • นิทาน
    • เกมส์ สื่อการเรียนการสอน
    • บทบรรยาย ประกอบการอบรม
    • วิดีโอ
  • Powerpoint
    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาตรี
    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาโท
    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาเอก
    • Powerpoint บาลี
    • Powerpoint พระพุทธศาสนา
    • PowerPoint บทสวดมนต์
    • Powerpoint อื่น ๆ
  • ข้อสอบ
    • ข้อสอบพระพุทธศาสนา
    • ข้อสอบนักธรรม
    • ข้อสอบธรรมศึกษา
    • ข้อสอบนวกภูมิ
    • ข้อสอบชั้นประถมศึกษา
    • ข้อสอบบาลี บาลีศึกษา
    • ข้อสอบชั้นมัธยมศึกษา
  • แบบเอกสาร
    • การทำเว็บไซต์
    • ไฟล์แบบ microsoft office
    • ไฟล์แบบ Photoshop
    • คำอาราธนาต่าง ๆ
  • หนังสือ
    • หนังสือ-คู่มือ
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาชั้นเอก
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาชั้นโท
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาตรี
    • หนังสือสวดมนต์
    • หนังสือสายสามัญศึกษา
    • หนังสือเรียนบาลี
  • บทความ
    • การบริจาค ภาษาอังกฤษ
    • ประเทศไทย ภาษาอังกฤษ
    • เทคนิคการใช้ภาษาอังกฤษ
    • แต่งรูป ภาษาอังกฤษ
    • แต่งรูป
    • แนะนำอาชีพ
สื่อการสอน.com

รวมปัญหา ถาม ตอบ ศาสนพิธี 101 ข้อ

Posted on 21 กรกฎาคม, 2016 by สื่อการสอน

แบบทดสอบศาสนพิธี      ชิงทุนการศึกษา

ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

——————————

1.         ในปีหนึ่ง  แต่ละวัดจัดรับกฐินได้กี่ครั้ง       1          ครั้ง

2.         การทอดผ้าป่า  มีกำหนดเวลาอย่างไร.        ตลอดปี

3.         ผ้าบังสุกุล   หมายถึง           ผ้าป่า

4.         พิธีกรรมใด    ที่พระสงฆ์กระทำในวันออกพรรษา     ปวารณา

5.         พิธีตักบาตรเทโว   ตรงกับวันใด      วันแรม   1    ค่ำเดือน  11

6.         วันมาฆบูชา  เริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่เท่าไร.      ที่  9

7.         ผ้าอันตรวาสก  หมายถึงผ้าชนิดใด         ผ้านุ่ง  (สบง)

8.         การไหว้  ตรงกับคำว่า.          นมัสการ

9.         ใบสำหรับเขียนจำนวนเงินถวายพระสงฆ์แทนเงินสดในเวลาทำบุญ  เรียกว่า  ใบปวารณา

10.       อนุกมฺปิมํ  ปชํ…..   เป็นส่วนหนึ่งของคำอะไร.     อาราธนาธรรม

11.       สพฺพ  ภย  วินาสาย…..   เป็นส่วนหนึ่งของคำอะไร.   อาราธนาพระปริตร

12.       วันอาสาฬหบูชา   ประกาศเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่    ที่  9

13.       การไหว้บิดามารดา  ครู  อาจารย์  หัวแม่มือจรดที่      ปลายจมูก   ปลายนิ้วมือจรดที่ระหว่างคิ้ว

14.       วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  มีกี่วัน    5   วัน  คือวัน.    1.  ออกพรรษา  

2.  วันวิสาขบูชา     3.  วันอาสาฬหบูชา    4.  วันมาฆบูชา    5.  วันเข้าพรรษา

15.       วันวิสาขบูชา  ตรงกับวันเพ็ญ      15   ค่ำเดือน     6 มีความสำคัญอย่างไร.   วันประสูติ  ตรัสรู้  ปรินิพพาน

16.       วันอาสาฬหบูชา  ตรงกับวันเพ็ญ        15    ค่ำเดือน   8 มีความสำคัญอย่างไร.   แสดงปฐมเทศนา

17.       วันมาฆบูชา  ตรงกับวันเพ็ญ        15    ค่ำเดือน   3 มีความสำคัญอย่างไร.   แสดงโอวาทปาฏิโมกข์

18.       วันเข้าพรรษา               ตรงกับวันแรม             1          ค่ำเดือน           8

19.       วันออกพรรษา             ตรงกับวันขึ้น              15        ค่ำเดือน           11

20.       การปวารณาออกพรรษา  หมายถึง                   การยอมให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้

21.       วันที่นิยมเวียนเทียนมีกี่วัน                   4          คือวัน               1.  วิสาขบูชา  2.  มาฆบูชา     3.  อาสาฬหบูชา    4.  อัฏฐมีบูชา

22.       ผ้าที่นิยมถวายในวันเข้าพรรษา   เรียกว่า.       ผ้าอาบน้ำฝน

23.       การเวียนเทียนในวันสำคัญต่างๆ   จัดเป็นพิธีอะไร.   กุศลพิธี

24.       คำขึ้นต้นว่า  “พฺรหฺมา     จ    โลกา…….”          เป็นคำอาราธนา           ธรรม

25.       คำขึ้นต้นว่า  “มยํ   ภนฺเต    ติสรเณน…….”       เป็นคำอาราธนา           ศีล

26.       คำกรวดน้ำแบบย่อว่าอย่างไร.              อิทํ   เม   ญาตีนํ   โหตุ   สุขิตา  โหนฺตุ  ญาตโย

27.       คำลาข้าวพระพุทธว่าอย่างไร.              เสสํ    มงฺคลา    ยาจามิ.

28.       คำขึ้นต้นว่า  “อิมานิ  มยํ  ภนฺเต   ภตฺตานิ…….”   เป็นคำถวาย               สังฆทาน

29.       ผ้านุ่งสำหรับภิกษุ   เรียกว่า.          ผ้าอันตรวาสก  (สบง)

30.       วันมหาปวารณา  คือวันอะไร.          ออกพรรษา

31.       หลังวันออกพรรษา   1   วัน  เรียกว่าวัน           เทโวโรหนะ

32.       คำว่า “สงฆ์”  หมายถึงพระตั้งแต่กี่รูปขึ้นไป.     4        รูป

33.       ผ้าวัสสิกสาฎก    หมายถึง            ผ้าจำนำพรรษา

34.       การทอดกฐิน  มีกำหนดอย่างไร                      แรม   1   ค่ำเดือน     11   ถึงกลางเดือน  12

35.       “อิมานิ   มยํ   ภนฺเต   ปํสุกูล   จีวรานิ………”    เป็นคำขึ้นต้นคำอะไร.      ถวายผ้าป่า

36.       พุทธมามกะ  หมายถึง.             ผู้นับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นของตน

37.       พระสงฆ์  มีกี่ประเภท.            2     ประเภท    คือ  1.  สมมติสงฆ์      2.  อริยสงฆ์

38.       สมมติสงฆ์      หมายถึง.    พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วยังไม่บรรลุมรรคผล อริยสงฆ์     หมายถึง พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุมรรคผล

39.       ธูป  3   ดอก     หมายถึง           พระคุณของพระพุทธเจ้าทั้ง    3 เทียน    2   เล่ม หมายถึง           พระธรรมและพระวินัย ดอกไม้            หมายถึง           พระสงฆ์

40.       การเวียนเทียนต้องเวียนจากข้างไหนไปข้างไหน.       เวียนขวามือพระพุทธรูป

41.       ในหนึ่งเดือนมีวันพระกี่วัน.      4         วัน

42.       การกราบบุคคลโดยทั่วไปควรกราบอย่างไร.    กราบ    1    ครั้งไม่แบบมือ

43.       การกราบศพ  ควรกราบกี่ครั้ง   ใช้ธูปกี่ดอก.        1    ครั้ง  1   ดอก

44.       การกราบพระควรใช้แบบใด.            แบบเบญจางคประดิษฐ์

45.       การจุดเทียนที่ถูกต้อง   ควรจุดเล่มไหนก่อน.     ขวามือพระพุทธรูป

46.       อัญชลี   หมายถึง.       ยกมือขึ้นประนมมือ

            วันทา     หมายถึง.          ยกมือที่ประนมขึ้นไหว้

            อภิวาท    หมายถึง.            การกราบลง

47.       คำว่า  “นมัสการ”  หมายถึง.        การไหว้

48.       การไหว้บิดามารดา   ครู   อาจารย์  หัวแม่มือจรดที่ใด             จรดที่ปลายจมูก

49.       การนิมนต์พระไปสวดงานอวมงคล  ควรใช้คำนิมนต์ว่าอย่างไร.  ขออาราธนานิมนต์สวดพุทธมนต์

50.       การนิมนต์พระไปสวดงานมงคล   ควรใช้คำนิมนต์ว่าอย่างไร. ขออาราธนานิมนต์เจริญพระพุทธมนต์

51.       ชายที่จะบวชเป็นพระได้  จะต้องมีอายุครบกี่ปี      20        ปี

52.       การถวายทานแก่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจง  ถวายเป็นรวม  เรียกว่า.        สังฆทาน

53.       พิธีกรรม    หมายถึง.     แบบแผน   แบบอย่าง

54.       การอาราธนา  หมายถึง.    การเชื้อเชิญ

55.       การบูชาแบ่งออกเป็น.      2          อย่าง  คือ         1.  อามิสบูชา       2.  ปฏิบัติบูชา

56.       ศาสนพิธี   คืออะไร.                แบบอย่างหรือแบบต่างๆ  ที่จะพึงปฏิบัติทางศาสนา

57.       ศาสนพิธีเกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังศาสนา.                  ภายหลังศาสนา

58.       การสอนให้ผู้ปฏิบัติตนอย่างไร   จึงชื่อว่าเป็นหลักการตามพระพุทธศาสนา.   สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง 1, สอนให้ทำแต่ความดี  1,   สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส 1

59.       หลักการทำบุญมีเท่าไร.           มี  3  อย่าง  คือบริจาคทาน  (ทานมัย)  ,รักษาศีล  (ศีลมัย)

60.       ศาสนพิธี  แบ่งออกเป็น   4   หมวด  คือ           1.  หมวดกุศลพิธี  ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญบุญ      2.  หมวดบุญพิธี  ว่าด้วยพิธีทำบุญ       3.  หมวดทานพิธี  ว่าด้วยพิธีถวายทาน  4.  หมวดปกิณณกะว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด

61.       การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ   มีมาตั้งแต่ครั้ง            พุทธกาล

  1. การแสดงตนเป็นภิกษุสามเณรก็ดี  เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี  นับเป็นการแสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วยหรือไม่  นับเป็นการแสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย
  2. คำว่า  “อุบาสก”    หมายถึง                  ผู้ใหญ่ที่มีศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเอง
  3. คำว่า  “พุทธมามกะ”  หมายถึง             เด็กที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาของตน
  4. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะนั้น  ควรแสดง  เมื่อ       มีอายุ  12-15  ปี   เมื่อจะส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนของคนต่างศาสนา   เมื่อจะส่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ  เมื่อเปิดภาคการศึกษาใหม่  หรือ  เมื่อเข้ามานับถือพุทธศาสนาใหม่
  5. การรักษาอุโบสถศีล  รักษาได้ชั่วระยะเวลา     วันหนึ่งคืนหนึ่ง   วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
  6. คำว่า  “อิมํ  อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ  อุโปสถํ  ฯลฯ   เป็นคำ.           อธิษฐานอุโบสถ
  7. คำว่า  “มยํ  ภนฺเต  ติสรเณน  สห  อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ  อุโบสถํ  ยาจาม.  เป็นคำ ขอศีลอุโบสถ

69.       คำว่า  “อฏฺฐมี”  หมายถึงวัน     8          ค่ำ  คำว่า          จาตุทฺทสี  หมายถึงวัน     15     ค่ำ

70.       การทำบุญงานมงคล  เช่น     ทำบุญขึ้นบ้านใหม่  ทำบุญแต่งงาน  ทำบุญวันเกิด  เป็นต้น

71.       การทำบุญงานอวมงคล  เช่น   ทำบุญศพ  7  วัน  50  วัน    100  วัน  หรือทำบุญอัฏฐิ

72.       คำว่า  “ทายก”   หมายถึง                      ผู้ให้  คือเจ้าภาพ

73.       ค่ำว่า  “ปฏิคาหก”  หมายถึง                 ผู้รับ   คือพระสงฆ์

74.       การวงสายสิญจน์  ควรวงจาก              องค์พระพุทธรูป  เวียนขวา  วนไปรอบบ้านแล้วกลับมาที่องค์พระ

75.       การอาราธนาศีล  อาราธนาปริตร  หรือ อาราธนาธรรม  โดยปกติ  เป็นหน้าที่ของ.  พิธีกร

76.       พิธีกร  คือ                                            บุคคลผู้แนะนำในการประกอบพิธี

77.       ไวยาวัจกร  หมายถึง             ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระสงฆ์  (ผู้รับใช้พรสงฆ์ในด้านต่างๆ)

78.       คำถวายข้างพระพุทธ  ว่า         อิมํ  สปฺพยญฺชน   สมฺปนฺนํ   โอทนํ   อุทกํ  วรํ   พุทฺธสฺส  ปูเชมิ.

79.       คำลาข้าวพระพุทธ   ว่า            เสสํ   มงฺคลา   ยาจามิ   หรือ   เสสํ  มงคลํ  ยาจามิ  ก็ได้

80.       วัตถุสิ่งของที่พระสงฆ์ใช้ถือในการให้ศีล  ในเวลาขัดตำนาน  ในเวลาอนุโมทนา  เรียกว่า.ตาลปัตร

81.       เจ้าภาพควรจุเทียนน้ำมนต์   เวลาที่พระสงฆ์สวดถึงคำว่า        อเสวนา   จ   พาลานํ  ฯ

82.       วัตถุที่ใช้เป็นเครื่องประพรมน้ำพระพุทธมนต์นั้น  นิยมใช้      กำหญ้าคา  หรือก้านมะยม

83.       ภูษาโยง  หมายถึง        แผ่นผ้าพับยาว   สำหรับเชื่อมต่อจากศพ  เพื่อทอดผ้าบังสุกุล

84.       คำว่า  “ประเคน”  หมายความว่า          มอบของให้ด้วยมือของตน

85.       ระยะการประเคน        คือ                   ระยะห่างกันระหว่างผู้รับประเคนกับผู้ประเคน  ประมาณ  1   ศอก

86.       ฎีกานิมนต์พระ  หมายถึง  หนังสืออาราธนาหรือนิมนต์พระไปในงานพิธีอะไร  ที่ไหน

87.       ใบปวารณา  หมายถึง  สิ่งที่ใช้แทนปัจจัย  4   ของพระ  (ธนบัตร)   หรือเงินสด

88.       ผู้นบถือพระพุทธศาสนา  ทั่วไป  เรียกว่า         พุทธศาสนิกชน

89.       คำว่า  “สพฺเพ  สตฺตา  อเวรา  โหนฺตุ  ฯลฯ  เป็นคำ       แผ่เมตตา

90.       คำว่า   ไตรสรณะ  หมายถึง                 พระพุทธ         พระธรรม        พระสงฆ์

91.       บทสวดมนต์ที่ขึ้นต้นว่า           อรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธ……เป็นคำ      บูชาพระรัตนตรัย

92.       หลักมนุษยธรรม  หรือที่เรียกว่า  สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  ได้แก่     เบญจศีล

93.       ศีล       5     ถ้ารักษาเป็นประจำ  เรียกชื่อว่า                                         นิจศีล

94.       ศีล       8     ถ้ารักษาเป็นพิเศษ   คือชั่วระยะวันกับคืน  เรียกว่า     อุโบสถศีล/ปกติอุโบสถ

95.       ศีล       8     ที่รักษาเป็นพิเศษกว่าปกติ  คือรักษาคราวละ  3  วัน  เรียกชื่อว่า ปฏิชาครอุโบสถ

96.       อาคาริยวินัย     จัดเป็นศีลสำหรับ         ชาวบ้าน   คฤหัสถ์  มีศีล  5  ศีล  8

97.       อาคาริยวินัย     จัดเป็นศีลสำหรับ         บรรพชิต  (นักบวช)  มีศีล  10  ศีล   227

98.       วิธีรักษาศีล  มี    3    วิธี   เรียกว่า   วิรัติ    แปลว่า   การงดเว้น  คือ 1.  สัมปัตตวิรัติ            2.  สมาทานวิรัติ          3.  สมุจเฉทวิรัติ

99.       การงดเว้นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดเฉพาะหน้า  เรียกว่า         สัมปัตตวิรัติ

100.     การงเว้นด้วยการรับศีลแล้วรักษาปฏิบัติด้วยตนเองหรือจากผู้อื่น เรียกว่า    สมาทานวิรัติ

101.     การงดเว้นได้อย่างเด็ดขา  ไม่กระทำความชั่วอีก  เรียกว่า         สมุจเฉทวิรัติ

ดาวน์โหลดสื่อการสอน

  • รวมปัญหา ถาม ตอบ ศาสนพิธี 101 ข้อ
    File size: 14 KB Downloads: 538
  • ข้อสอบชิงทุน
  • ข้อสอบตัวอย่าง
  • ข้อสอบพระพุทธศาสนา
  • ข้อสอบเก่า
  • ตัวอย่างข้อสอบ
  • ทดสอบความรู้พระพุทธศาสนา
  • ปัญหาพระพุทธศาสนา
  • รวมข้อสอบ
  • เตรียมสอบ
  • แนวข้อสอบ
  • แบบทดสอบ
  • หมวดหมู่

    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาตรี
    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาเอก
    • Powerpoint นักธรรม/ธรรมศึกษาโท
    • PowerPoint บทสวดมนต์
    • Powerpoint บาลี
    • Powerpoint พระพุทธศาสนา
    • Powerpoint อื่น ๆ
    • การทำเว็บไซต์
    • การบริจาค ภาษาอังกฤษ
    • ข้อสอบชั้นประถมศึกษา
    • ข้อสอบธรรมศึกษา
    • ข้อสอบนวกภูมิ
    • ข้อสอบนักธรรม
    • ข้อสอบบาลี บาลีศึกษา
    • ข้อสอบพระพุทธศาสนา
    • ข้อสอบมัธยมศึกษา
    • คำอาราธนาต่าง ๆ
    • นิทาน
    • บทบรรยาย ประกอบการอบรม
    • ประเทศไทย ภาษาอังกฤษ
    • วิดีโอ
    • วิธีการสอน
    • หนังสือ-คู่มือ
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาชั้นเอก
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาชั้นโท
    • หนังสือนักธรรม-ธรรมศึกษาตรี
    • หนังสือสวดมนต์
    • หนังสือสายสามัญศึกษา
    • หนังสือเรียนบาลี
    • เกมส์ สื่อการเรียนการสอน
    • เทคนิคการใช้ภาษาอังกฤษ
    • แต่งรูป
    • แต่งรูป ภาษาอังกฤษ
    • แนะนำอาชีพ
    • แผนการสอน
    • ใบความรู้
    • ไฟล์แบบ microsoft office
    • ไฟล์แบบ Photoshop

    เว็บไซต์ความรู้

    • ปฏิทินปักขคณนา.com
    • เวลาประเทศไทย.com
    • โปรแกรมแต่งรูป.com
    • เครื่องคิดเลข.com
    • พระคุ้มครอง.com
    • ยามอุบากอง.com
    • ภาพการ์ตูน.com
    • เมนูอาหาร.com
    • Thaiapply.com
    • โค้ดสี.com
    • เวลา.com
    ดาวน์โหลดสื่อการเรียนการสอนฟรี ©2022 สื่อการสอน.com